เมนู

อรรถกถานิสสรณสูตร


ในนิสสรณสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิสฺสรณิยา ความว่า ปฏิสังยุตด้วยธาตุที่สลัดออกไป. บทว่า
ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากสัตว์. บทว่า กามานํ ได้แก่ กิเลสกาม
และวัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กามานํ ได้แก่กิเลสกาม เพราะว่าธาตุ
ทั้งหลายเป็นที่ออกไปจากกิเลสกาม ถึงวัตถุกามก็ออกไปเหมือนกัน ไม่ใช่
ออกไปโดยประการอื่น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ใช่
กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริ
ของคน (ต่างหาก) เป็นกาม อารมณ์ที่
วิจิตรทั้งหลาย ก็สถิตอยู่ในโลกอย่างนั้น
นั่นแหละ แต่ธีรชนจะนำความพอใจใน
กามนั้นออกไป.

การปราศไป ชื่อว่า นิสสรณะ. บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ปรมฌาน.
โดยพิเศษแล้ว เนกขัมมะนั้น พึงเห็นว่า มีอสุภะเป็นอารมณ์ แต่ผู้ใดทำฌาน
นั้นให้เป็นเบื้องบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ 3 แล้ว จึงทำ
ให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยอนาคามิผล จิตของผู้นั้น จะสลัดออกจากกาม
ทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เนกขัมมะนี้ พึงทราบว่าเป็นการสลัดออก
ซึ่งกามทั้งหลาย อย่างอุกฤษฏ์. บทว่า รูปานํ ได้แก่ รูปธรรมทั้งหลาย โดย
พิเศษแล้วก็คือ รูปาวจรธรรมทั้งหมด แยกประเภทเป็นกุศลวิบาก และกิริยา
พร้อมด้วยอารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า อรุปฺปํ ได้แก่ รปาวจรฌาน แต่อาจารย์